Home
/Product
/Promotion
/Article
/Help
คนที่มีลูกอยู่ในความดูแล สามารถนำลูกไปใช้เป็นค่าลดหย่อนได้แบบเหมาคนละ ฿30,000 ต่อปี ไม่ว่าจะยังอยู่ในวัยเรียนหรือไม่
แต่ถ้ามีลูกคนที่สองเป็นต้นไปที่เกิดในปี พ.ศ. 2561 หรือหลังจากนี้ และเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายด้วย จะสามารถนำลูกไปใช้เป็นค่าลดหย่อนได้เพิ่มเป็น คนละ ฿60,000 ต่อปี
ทั้งนี้ แม้บุตรจะเสียชีวิตระหว่างปีก็ยังสามารถใช้ลดหย่อนภาษีสำหรับ ปีภาษี ที่เสียชีวิตได้อยู่
กรณีมีเฉพาะบุตรชอบด้วยกฎหมาย
กรณีเป็นลูกที่ถูกต้องตามกฎหมายจะใช้สิทธิลดหย่อนบุตรกี่คนก็ได้เท่าจำนวนบุตรจริง
กรณีมีเฉพาะบุตรบุญธรรม
ในกรณีที่คุณมีแต่บุตรบุญธรรมเพียงอย่างเดียว จะใช้สิทธิลดหย่อนบุตรได้คนละ ฿30,000 สูงสุด 3 คน
กรณีมีทั้งบุตรชอบด้วยกฎหมายและบุตรบุญธรรม
แต่ถ้าเป็นกรณีที่มีทั้งลูกที่ถูกต้องตามกฎหมายและบุตรบุญธรรมด้วย การใช้สิทธิหักลดหย่อนจะดูจากลูกที่ถูกต้องตามกฎหมายที่ยังมีชีวิตอยู่ก่อน โดยการนับจํานวนบุตรให้นับเฉพาะบุตรที่มีชีวิตอยู่ตามลําดับอายุสูงสุดของบุตร โดยนับรวมทั้งบุตรที่ไม่อยู่ในเกณฑ์ได้รับการหักลดหย่อนด้วย หากครบ 3 คนไปแล้วจะใช้สิทธิลดหย่อนบุตรบุญธรรมไม่ได้ แต่ถ้ายังไม่ครบ 3 คน ก็จะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนบุตรบุญธรรมได้อีกคนละ ฿30,000 จนคุณได้ใช้สิทธิลดหย่อนบุตรครบ 3 คน
การหักลดหย่อนบุตรเป็นกรณีเดียวที่กฎหมายอนุญาตให้ทั้งคุณและคู่สมรสสามารถใช้ลูกคนเดียวกันหักลดหย่อนบุตรซ้ำกันได้
การรับสิทธิหักลดหย่อนบุตร อย่างน้อยต้องมีเราหรือลูกเราคนใดคนหนึ่งที่อยู่ในประเทศไทยครบ 180 วันในปีภาษีนั้น และผ่านเกณฑ์ต่อไปนี้ทั้งหมดด้วย
ลูกที่เราจะใช้สิทธิหักลดหย่อนได้จะต้องเป็น
ลูกแท้ๆ ที่ถูกต้องตามกฎหมายของเราหรือคู่สมรส หรือ
ลูกบุญธรรมที่เราจดทะเบียนรับเป็นบุตรบุญธรรมแล้ว
ลูกที่เราจะใช้สิทธิหักลดหย่อนได้ยังต้องผ่านเกณฑ์อายุข้อใดข้อหนึ่งดังนี้ด้วย
อายุไม่ถึง 20 ปี หรือยังไม่บรรลุนิติภาวะ
อายุ 20 – 25 ปี หรือบรรลุนิติภาวะแล้ว แต่ต้องเรียนอยู่ระดับอนุปริญญา (ปวส. หรือ ปวท.) หรือปริญญาตรีขึ้นไป รวมถึงการศึกษาในหลักสูตรเนติบัณฑิต2
อายุเท่าไหร่ก็ได้ แต่ต้องถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
ลูกที่ใช้สิทธิหักลดหย่อนได้จะต้องไม่มีรายได้ หรือมีรายได้ตลอดทั้งปีได้ไม่ถึง ฿30,000 ด้วย (ถ้า ฿30,000 พอดีถือว่าผิดเงื่อนไข)
อย่างไรก็ดี หากเป็นกรณีที่บุตรยังไม่บรรลุนิติภาวะแล้วได้รับเงินปันผล กฎหมายให้ถือว่าเป็นเงินได้ของบิดาหรือมารดาผู้ใช้อำนาจปกครอง กรณีดังกล่าวแม้บุตรจะได้รับเงินปันผลถึง ฿30,000 ก็ยังใช้สิทธิลดหย่อนบุตรได้อยู่ดี เพราะเงินปันผลดังกล่าวถือเป็นเงินได้ของผู้ใช้อำนาจปกครอง ไม่ใช่เงินได้ของบุตร
ข้อมูลอ้างอิงจาก : https://www.rd.go.th/60055.html
NO. | อยากรู้หัวข้อไหน เลือกดูได้เลย | LINK |
หน้ารวมเนื้อหาทั้งหมดเกี่ยวกับ "ภาษี" คลิกที่นี่ | ||
1 | ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา | คลิกที่นี่ |
2 | เงินได้อะไรบ้างที่ต้องเสียภาษี | คลิกที่นี่ |
รายละเอียดเงินได้ทั้ง 8 ประเภท | ||
3 |
| คลิกที่นี่ |
4 |
| คลิกที่นี่ |
5 |
| คลิกที่นี่ |
6 |
| คลิกที่นี่ |
7 |
| คลิกที่นี่ |
8 |
| คลิกที่นี่ |
9 |
| คลิกที่นี่ |
10 |
| คลิกที่นี่ |
ค่าลดหย่อน | ||
11 |
| คลิกที่นี่ |
12 |
| คลิกที่นี่ |
คำนวณภาษี | ||
13 |
| คลิกที่นี่ |
14 |
| คลิกที่นี่ |
สิทธิประโยชน์สำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการ | ||
15 |
| คลิกที่นี่ |