Home
/Product
/Promotion
/Article
/Help
“ไม่ว่าจะมีรายได้เท่าไหร่ เงินก็ไม่เคยพอใช้ ทั้งที่ไม่มีภาระอะไรมาก”
นั่นอาจเป็นเพราะเรากำลังใช้เงินเกินตัว หรือขยับไลฟ์สไตล์ให้สูงขึ้นตามฐานะ
หลายคนอยากวางแผนการเงิน แต่เริ่มไม่ได้สักทีเพราะกำลังเจอปัญหานี้
ลองแก้ด้วยเทคนิคจัดการเงินเดือน “Zero-Based Budgeting”
ซึ่งการใช้เงินจะต้องมีปลายทางชัดเจนทุกบาททุกสตางค์ ลองไปดูกันว่าทำอย่างไร
Zero-Based Budgeting คือวิธีที่บริษัทต่างๆ ใช้ในการจัดทำงบประมาณ
ซึ่งนำมาประยุกต์ใช้ได้กับการวางแผนการเงินส่วนบุคคลเช่นกัน
พอยต์หลักของวิธีนี้คือเมื่อเราได้เงินเดือนมาปุ๊บ
ก็ให้วางแผนการเงินล่วงหน้าว่าเราจะเอาเงินนั้นไปทำอะไรบ้าง
แจกแจงไปเรื่อยๆ จนกระทั่งเงินเดือนเหลือ 0 บาท
✅ จัดสรรเงิน (Allocate) ได้ตามเป้าหมาย
✅ มองเห็นภาพรวม สัดส่วนการใช้จ่ายทั้งหมดของตัวเอง
✅ เทคนิคจัดสรรเงินส่วนใหญ่ จะแบ่งสัดส่วนการออม-ค่าใช้จ่ายตายตัว
แต่ Zero-Based Budgeting จะยืดหยุ่นได้ตามความจำเป็น
เริ่มจากใช้โปรแกรม Excel หรือ Google Sheet ซึ่งก็มีหลายเว็บไซต์ที่มีแจกเทมเพลตฟรี
ไม่ต้องผูกสูตรเองให้ยุ่งยาก เพียงแค่กรอกตัวเลขรายรับ (Income) ลงในตาราง
แล้วลิสต์ตัวเลขค่าใช้จ่ายต่างๆ ลงไป ระบบก็จะคำนวณให้อัตโนมัติ
โดยหักลบจากตัวเลขรายรับไปเรื่อยๆ จนผลลัพธ์สุดท้ายเหลือ 0
นั่นแปลว่าเราต้องกลับไปพิจารณาค่าใช้จ่ายว่ามีส่วนไหนที่ปรับลดได้บ้าง
และเมื่อจะทำ Zero-Based Budgeting สำหรับเดือนต่อไป ก็สามารถคัดลอกเทมเพลตเดิมได้เลย
(หรือบางคนอาจจะแบ่งมากกว่านี้ก็ได้)
เป็นส่วนที่ระบุรายรับจากแหล่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เงินเดือน เงินปันผล ดอกเบี้ย เป็นต้น
แต่ละคนอาจมีตัวเลขตายตัว เช่น ออม 5,000 บาทสม่ำเสมอทุกเดือน หรือไม่ตายตัว
โดยยืดหยุ่นได้ตามภาระในแต่ละเดือน ส่วนนี้ถือเป็นส่วนสำคัญที่ควรจะเก็บออมเป็นอันดับแรก
จะมากหรือน้อยก็ยังดีกว่าไม่ออมเลย
ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ เป็นส่วนที่รู้ว่าจะต้องจ่ายเป็นจำนวนเงินที่แน่นอนทุกเดือน
เช่น ค่าผ่อนบ้าน ค่าผ่อนรถ ค่าเบี้ยประกัน
ส่วนนี้จะเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่แน่นอน ยืดหยุ่นไปตามลักษณะการดำรงชีวิตและกิจกรรมที่ทำในเดือนนั้นๆ
เช่น ค่าอาหาร ค่าน้ำ-ไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าเดินทาง ค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น
ลงทุนกับ EDGE ผ่านแอป KKP MOBILE สะดวกสบาย
ถ้ายังไม่มีแอปฯ ดาวน์โหลดได้เลยที่
| ||
วางแผนเกษียณ สไตล์มนุษย์เงินเดือน CLICK |