Home
/Product
/Promotion
/Article
/Help
ข้อมูลที่น่าสนใจจากบริษัท เวิร์คเวนเจอร์ เทคโนโลจีส์ จำกัด (WorkVenture)
โดยนายจีรวัฒน์ ตั้งบวรพิเชฐ ที่ปรึกษาอาวุโสทางด้านการสร้างแบรนด์องค์กรนายจ้าง
ระบุว่า ประเทศไทยปี 2025 จะเข้าสู่ยุคคนทำงาน Gen X, Y และ Z อย่างเต็มรูปแบบ
ขณะที่ Baby Boomer ส่วนใหญ่จะเกษียณอายุการทำงานในปีนี้ หลังจากอายุครบ 60 ปี
นั่นแปลว่า Gen อื่นๆ ยังมีเวลาวางแผนเกษียณ
จากมุมมองของ EDGE Invest คือ...
ในวันข้างหน้าคนทำงาน Gen X, Y และ Z เหล่านี้ ก็จะกลายเป็นวัยเกษียณเช่นกัน
ซึ่งตอนนี้ยังมีเวลาทำงานเก็บเงิน และลงทุนให้งอกเงย
เพื่อให้มีเงินใช้จ่ายอย่างสุขสบายหลังเกษียณ
ใครที่ยังไม่ได้วางแผนเกษียณ เริ่มตอนนี้ยังทัน
เราขอแนะนำ 4 เครื่องมือที่ช่วยวางแผนเกษียณ ดังนี้
กองทุน Retirement Mutual Fund หรือ RMF มีขึ้นเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว
ให้มีเงินใช้จ่ายหลังเกษียณ โดยมีนโยบายการลงทุนหลากหลาย ลงทุนได้ในสินทรัพย์ทุกประเภท
เลือกได้ตามระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้และเป้าหมายการลงทุน
ถ้ารับความเสี่ยงได้น้อย ก็เน้นลงทุนสินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำ
เช่น ตราสารหนี้ กองทุนรวมตลาดเงิน
ถ้ารับความเสี่ยงได้มาก ก็เน้นลงทุนสินทรัพย์ความเสี่ยงสูง
เช่น หุ้น
โดยสามารถสับเปลี่ยนกองทุนได้ตามต้องการ
และไม่จำเป็นต้องมีเงินก้อนก็ลงทุนได้
ด้วยวิธี “DCA” ทยอยซื้อขั้นต่ำได้เพียงหลักพันบาทต่อเดือน
นอกจากนี้ การลงทุน RMF ยังใช้ลดหย่อนภาษีได้
โดยจะต้องลงทุนไม่น้อยกว่าปีละ 1 ครั้ง ขั้นต่ำ 3% ของเงินได้ในปีภาษี
หรือไม่น้อยกว่า 5,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินได้
และเมื่อรวมกับเงินที่ส่งเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ กบข.
และเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ จะต้องไม่เกิน 500,000 บาท
อีกหนึ่งผลประโยชน์ทางภาษีคือ กำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุน ก็ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ฯ ด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้ จะต้องลงทุนใน RMF มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี และขายคืนกองทุนเมื่ออายุครบ 55 ปี
จึงจะไม่ผิดเงื่อนไขของการได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี
ตัวช่วยเก็บเงินเกษียณที่ใกล้ตัวมนุษย์เงินเดือนที่สุด แต่หลายคนมองข้าม
ทั้งที่การออมใน PVD นั้นได้ประโยชน์มากถึง 3 ต่อ
การออมใน PVD คือการที่เราจ่ายเงินสะสม ได้ตั้งแต่ 2-15% ของค่าจ้าง
นอกจากนี้ยังได้เงินสมทบจากนายจ้างอีก 2-15%
จึงเหมือนได้เงินโบนัสพิเศษทุกๆ เดือนจากการทำงาน
เงินสะสมใน PVD สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง
สูงสุดไม่เกิน 15% ของรายได้ และเมื่อรวมกับเงินออมเพื่อการเกษียณอายุประเภทอื่น
เช่น กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) เบี้ยประกันบำนาญ
จะต้องไม่เกิน 500,000 บาท
เงินออมใน PVD จะถูกนำไปลงทุนสร้างผลตอบแทน
โดยมีบริษัทจัดการที่เชี่ยวชาญคอยดูแลให้เงินงอกเงย
ซึ่งผลตอบแทนนี้จะไม่ต้องเสียภาษี
หากเราทำตามเงื่อนไขคือเป็นสมาชิกกองทุนไม่ต่ำกว่า 5 ปี และถอนเมื่ออายุ 55 ปีบริบูรณ์
รู้หรือไม่? หากเราฝากเงินในบัญชีออมทรัพย์ทั่วไป
ถ้าได้รับดอกเบี้ยเกิน 20,000 บาท จะต้องเสียภาษีดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร
หัก ณ ที่จ่าย 15% ของดอกเบี้ยจ่าย
แต่การฝากเงินในบัญชี “เงินฝากประจำปลอดภาษี” (โดยทำตามเงื่อนไขครบถ้วน)
จะได้รับดอกเบี้ยสูงกว่า และไม่ต้องถูกหัก ณ ที่จ่าย 15% อีกด้วย
ซึ่งเมื่อฝากครบระยะเวลาแล้ว เงินก้อนนี้จะสามารถนำมาใช้จ่ายได้ตามเป้าหมายที่วางไว้
ทั้งนี้ เราจะเปิดบัญชีเงินฝากประจำแบบปลอดภาษี ได้เพียง 1 บัญชี/1 คน เท่านั้น (รวมทุกธนาคาร)
ประกันชีวิตแบบบำนาญ นอกจากจะได้ความคุ้มครองชีวิตแล้ว
ยังการันตีผลตอบแทนในรูปแบบเงินบำนาญ เพื่อให้เรามีรายได้ใช้จ่ายหลังเกษียณ
โดยจะเริ่มจ่ายเงินคืนเมื่อถึงอายุเกษียณ ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 55 ปี หรือ 60 ปี
ต่อเนื่องเป็นงวดๆ ไปจนครบกำหนดสัญญา
เบี้ยประกันภัยของกรมธรรม์บำนาญ ยังใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง
แต่ต้องไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี
และไม่เกิน 200,000 บาทต่อปี หรืออาจลดหย่อนได้สูงสุด 300,000 บาทต่อปี
หากไม่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตแบบทั่วไป
ลงทุนกับ EDGE ผ่านแอป KKP MOBILE สะดวกสบาย
ถ้ายังไม่มีแอปฯ ดาวน์โหลดได้เลยที่
| ||
วางแผนเกษียณ สไตล์มนุษย์เงินเดือน CLICK |