Home
/Product
/Promotion
/Article
/Help
Sequence of Returns Risk ความเสี่ยงของการวางแผนเกษียณ ที่คุณ (อาจ) ยังไม่รู้
.
ปกติแล้ว เราจะวางแผนเกษียณด้วยเงินออมก้อนหนึ่ง
โดยลงทุนไว้ หากได้ผลตอบแทนเฉลี่ยตามที่คาด
เราก็จะมีเงินใช้เพียงพอถึงวันสุดท้ายของชีวิต
.
แต่รู้หรือไม่ว่า “ลำดับผลตอบแทน” หลังเกษียณ
มีผลอย่างมากกับเงินออมก้อนสุดท้ายของเรา
.
👉 คนที่เจอตลาดขาลงช่วงต้นของการเกษียณ
ได้ผลตอบแทนติดลบในปีแรกๆ แล้วค่อยเป็นบวกทีหลัง
#เงินออมจะหมดเร็วกว่า
คนที่เกษียณแล้วเจอตลาดขาขึ้นในช่วงต้น
ได้ผลตอบแทนเป็นบวกก่อน แล้วค่อยติดลบปีหลังๆ
ต่อให้ผลตอบแทนเฉลี่ยรวมจะเท่ากันก็ตาม
แต่ลำดับไม่เหมือนกัน ชีวิตเกษียณจึงเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง
.
นี่คือความเสี่ยงหลังเกษียณ
ที่เรียกว่า “Sequence of Returns Risk”
.
✅ ปัจจุบันนักวางแผนการเงินระดับโลก
เริ่มชี้ให้เห็นถึงความเสี่ยงนี้
แต่ในประเทศไทยอาจยังไม่แพร่หลายนัก
EDGE by KKP จึงขอหยิบยกมาเล่าให้ฟัง
เพื่อให้คนไทยตระหนักถึงปัญหา
และยกระดับการวางแผนเกษียณ
ให้เหนือความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
ทำให้ใช้ชีวิตเกษียณสุขได้อย่างที่ต้องการ
โดยทั่วไปแล้ว เรามักจะวางแผนเกษียณด้วยการคำนวณจากตัวแปรเหล่านี้
.
👉 ค่าใช้จ่ายต่อเดือนหลังเกษียณ
👉 จำนวนปีที่คาดว่าจะมีชีวิตอยู่หลังเกษียณ
👉 ระยะเวลาในการเก็บเงิน
👉 ตัวคูณเงินเฟ้อ 2.4 เท่า
.
แต่ในสถานการณ์จริง โลกสามารถเกิดวิกฤติได้ตลอดเวลา ทั้งในแง่เศรษฐกิจ การเมือง สังคม ฯลฯ ซึ่งล้วนส่งผลกระทบต่อตลาด หากแหล่งรายได้หลักของเราหลังเกษียณมาจากพอร์ตที่ลงทุนไว้ จึงย่อมได้รับผลกระทบไปด้วยแน่นอน
.
ดังนั้นการวางแผนเกษียณ จึงมีตัวแปรอื่นๆ อีกมากมาย หนึ่งในตัวแปรสำคัญคือ “#จังหวะตลาด” ณ วันที่เกษียณ ซึ่งจะทำให้ลำดับของผลตอบแทนเปลี่ยนไป ส่งผลกระทบต่อความเพียงพอของเงินออม เกิดความเสี่ยงที่เรียกว่า “Sequence of Returns Risk”
.
เราขออธิบายคอนเซปต์ของ Sequence of Returns Risk ด้วยภาพที่เข้าใจง่าย โดยให้มองกราฟนี้เหมือนภูเขาลูกหนึ่ง ⛰️
.
ช่วงขาขึ้นภูเขา คือวัยทำงานมีรายได้ จึงเน้นเก็บออม-ลงทุนเพื่อสะสมความมั่งคั่ง (Accumulation) ผ่านเครื่องมือทางการเงิน เช่น กองทุนรวม หุ้น พันธบัตร ฯลฯ
.
จุดสูงสุดของภูเขา คือวันที่เราเกษียณ
.
ช่วงขาลงภูเขา คือวัยหลังเกษียณที่รายได้ลดลง ต้องถอนเงินที่สะสมไว้ออกมาใช้ ซึ่งเราต้องจัดการกับความเสี่ยงต่างๆ และบริหารเงินก้อนนี้ให้เพียงพอจนถึงวันสุดท้าย
.
ซึ่งช่วงเวลาที่เราต้องโฟกัสเป็นพิเศษคือ “Retirement Risk Zone” 10 ปีก่อนและหลังเกษียณ หากตลาดอยู่ในช่วงขาลง แล้วเงินออมเพื่อเกษียณอยู่ในสินทรัพย์ที่มีความผันผวนสูง หากเราถอนเงินออกมาใช้ในช่วงนี้ เงินจะหมดเร็วกว่าที่วางแผนไว้
การวางแผนเกษียณโดยทั่วไป มักจะคาดการณ์ออกมาเป็นกราฟเส้นตรงดังภาพ ซึ่งยังไม่ได้คำนึงถึงตัวแปรอื่นๆ เช่น ความเสี่ยงเรื่อง Sequence of Returns Risk
ความผันผวนของตลาด หรือวิกฤติเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้น
.
แต่ในความเป็นจริง ชีวิตหลังเกษียณจะต้องเจอกับหลายวัฏจักรเศรษฐกิจ หลายสภาวะตลาด 📈📉
ทำให้เส้นกราฟผันผวนขึ้นลง เหมือนกับนั่งรถไฟเหาะ
.
ลองมาดูตัวอย่างกัน
สมมติถ้าเราจะเกษียณตอนอายุ 60 ปี
โดยมีเงินออม 10 ล้านบาท
และคาดว่าจะมีชีวิตจนถึงอายุ 85 ปี
.
.
เจอผลตอบแทนติดลบ
ก่อนเจอผลตอบแทนเป็นบวก
จะมีเงินใช้จนถึงอายุ 80 ปีเท่านั้น
(หมดเร็วกว่าที่คาดตั้ง 5 ปี)
.
.
เจอผลตอบแทนเป็นบวก
ก่อนเจอผลตอบแทนติดลบ
จะมีเงินใช้จนถึงอายุ 95 ปี
(นานกว่าที่คาดตั้ง 10 ปี)
.
⚠️ ต่อให้ทั้ง 2 สถานการณ์ มีผลตอบแทนเฉลี่ยเท่ากันคือ 7%
แต่สถานการณ์ A เจอตลาดขาลงตั้งแต่ช่วงต้นของการเกษียณ
ต่อให้เจอตลาดขาขึ้นในภายหลัง เงินเกษียณจะหมดเร็วกว่าที่คาด เพราะเงินต้นลดลงอย่างรวดเร็ว
.
จะเห็นได้ว่า ลำดับของผลตอบแทน ที่ต่างกัน
ส่งผลให้ชีวิตเกษียณแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
Sequence of Returns Risk ⚠️ สะท้อนให้เห็นว่า
แม้ว่าผลตอบแทนเฉลี่ยโดยรวมของทั้งแผนเกษียณ จะเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้
(อาจมีบางปีที่ดีกว่า หรือแย่กว่าบ้าง ขึ้นลงสลับกันไป)
แต่ “ลำดับของผลตอบแทน” จากจังหวะตลาดนั้นมีผลสำคัญ
เพราะเป็นตัวชี้วัดว่าเงินเกษียณของเราจะเพียงพอจนถึงวันสุดท้ายหรือไม่?
ดังนั้น หากเกิดวิกฤติตลาดขาลงในช่วงที่เรากำลังจะเกษียณ
ถ้าเป็นไปได้ ควรเลื่อนอายุเกษียณออกไปก่อน อย่างน้อย 1-2 ปี
หรือจนกว่าแนวโน้มตลาดจะดีขึ้น เพื่อให้มีเวลารอตลาดฟื้นตัว
จนผลตอบแทนกลับมาใกล้เคียงเดิมกับที่คาดการณ์ไว้
แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะเลื่อนแผนเกษียณออกไปได้ ดังนั้นการเตรียมแผนรับมือก็จะช่วยลดความเสี่ยงได้
.
.
ในช่วงใกล้เกษียณ ควรปรับพอร์ตลดสัดส่วนสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น หุ้น แล้วเพิ่มน้ำหนักสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น ตราสารหนี้ โดยให้อยู่ในระดับความเสี่ยงที่รับได้
.
กลยุทธ์ที่แนะนำคือการ “Asset Allocation” ลงทุนกระจายสินทรัพย์ทั้งตลาด เพื่อกระจายความเสี่ยง ต่อให้เจอตลาดขาลงในช่วงต้นของการเกษียณ แต่ก็จะกลับมาให้ผลตอบแทนใกล้เคียงเดิม
.
ทั้งนี้ไม่ควรปรับพอร์ตการลงทุนกะทันหันตอนใกล้เกษียณ แต่ควรทยอยปรับพอร์ตล่วงหน้าเป็นระยะเวลาหลายปี เพื่อให้ปรับตัวรับความเปลี่ยนแปลงของตลาดได้
.
.
วางแผนออมเงินเกษียณแบบเผื่อเหลือ ย่อมดีกว่าเผื่อขาด เมื่อคำนวณทราบแล้วว่า ณ วันเกษียณควรต้องมีเงินก้อนเท่าไหร่ ให้บวกเพิ่มเข้าไปอีก ซึ่งแต่ละคนมีเงื่อนไขในการใช้ชีวิตแตกต่างกัน ถ้าไม่รู้ว่าควรเผื่อไว้ประมาณเท่าไหร่ การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญจะช่วยให้เราวางแผนได้ง่ายขึ้น
.
.
วัยเกษียณมักมีรายได้ลดลง จึงต้องวางแผนลดการใช้จ่าย โดยแยกให้ออกระหว่างค่าใช้จ่ายที่จำเป็น (Needs) ซึ่งขาดไม่ได้ กับค่าใช้จ่ายที่เกิดจากความต้องการ (Wants) ที่ปรับลดได้
.
นอกจากนี้ กลยุทธ์การถอนเงินจากพอร์ตเกษียณก็มีส่วนสำคัญเช่นกัน ซึ่งการถอนเงินแบบ “RMD” (Modified Required Minimum Distributions) จะเป็นการใช้จ่ายยืดหยุ่นตามผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุน ปีไหนได้ผลตอบแทนต่ำ ก็รัดเข็มขัด ปีไหนได้ผลตอบแทนดี ก็ใช้จ่ายได้มากขึ้น ทำให้เรายังมีความสุขกับการใช้ชีวิตหลังเกษียณ
.
สูตรคือนำยอดเงินออมคงเหลือ มาหักลบกับผลตอบแทนจากการลงทุน แล้วหารด้วยจำนวนปีที่ต้องการใช้เงินก้อนนี้
.
ตัวอย่างเช่น มีเงินก้อน 10,000,000 บาท ต้องการใช้อีก 20 ปี
👉 เงินที่ถอนได้ในปีแรก
= 10,000,000 ÷ 20 ปี = 500,000 บาท
เหลือเงินออม 9,500,000 บาท
และนำไปลงทุนขาดทุน 10%
= เหลือเงินออมสุทธิ 8,550,000 บาท
.
👉 เงินที่ถอนได้ในปีที่สอง
= 8,550,000 บาท ÷ 19 ปี = 450,000 บาท
เหลือเงินออม 8,100,000 บาท
และนำไปลงทุนได้กำไร 7%
= เหลือเงินออมสุทธิ 8,667,000 บาท
.
ในปีต่อไปให้นำเงินออมสุทธิ มาคำนวณด้วยสูตรเดียวกันไปจนถึงปีสุดท้าย
.
.
หากตลาดขาลง เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจาก Sequence of Returns Risk
จึงยังไม่ควรถอนเงินจากพอร์ตลงทุน มาใช้จ่ายในช่วงต้นของการเกษียณ
จึงต้องมองหาแหล่งรายได้หลักจากช่องทางอื่นที่มั่นคง
เช่น เงินฝากดอกเบี้ยสูง ตราสารหนี้ รายได้จากการปล่อยเช่าอสังหาริมทรัพย์
หลังจากนั้นก็รอให้ตลาดฟื้นตัว จนผลตอบแทนกลับมาใกล้เคียงเดิมกับที่คาดการณ์ไว้
จึงจะเริ่มถอนเงินจากพอร์ตออกมาใช้ได้
ลงทุนกับ EDGE ผ่านแอป KKP MOBILE สะดวกสบาย
ถ้ายังไม่มีแอปฯ ดาวน์โหลดได้เลยที่
| ||
วางแผนเกษียณ สไตล์มนุษย์เงินเดือน CLICK |